นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
คำว่า “นวัตกรรม” เดิมใช้ “นวกรรม”
มาจากคำว่า นว หรือ นวัต ซึ่งแปลว่า ใหม่ ( เช่น นวธานี, นวนคร = เมืองใหม่, นวพล = พลังใหม่, นวกภิกขุ = พระบวชใหม่) กับคำว่า “กรรม” ซึ่งแปลว่า การกระทำ การทำหรือสิ่งที่ทำ ความคิดและการปฏิบัติ
ตรงกับคำภาษาอังกฤษ “Innovation” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาลาติน
in + novare (= new) เป็น Innovare แปลว่า
ทำให้ใหม่ (to renew) หรือดัดแปลงเสียใหม่ (to
modify) ส่วน Innovate เป็นคำกริยา แปลว่า
ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่เข้ามา เมื่อนำ 2 คำ มารวมกันเป็น นวกรรม หรือ
นวัตกรรม ก็จะแปลได้ตรงตัวว่า การกระทำใหม่ หรือกระทำสิ่งใหม่ หมายถึง
ทำขึ้นมาใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจอยู่ในรูป ความคิด สิ่งของ
วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือวิธีการก็ได้ ดังที่มีผู้ให้ความหมายไว้ เช่น
เป็นความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น...
(กิตานันท์ มลิทอง. 2543 : 255)
หมายถึง วิธีการหรือการกระทำใด ๆ
ที่เป็นวิธีการหรือการกระทำใหม่ หรือเป็นสิ่งที่มีผู้คิดค้นขึ้นใหม่
หรืออาจปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือดีขึ้น
เพื่อใช้สิ่งนั้นในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น (เอกวิทย์
แก้วประดิษฐ์. 2545 : 8)
เป็นแนวความคิดที่มีเป้าหมายชัดเจน
ในการนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ (Nicholls and Allen. 1983 : 4)
ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา
เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา
และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่
เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้
ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น
เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ
จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้
ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า
"เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา"
มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง
การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น
ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป
แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ"
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ
ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม
หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม
โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ
ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น"
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า
"นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม
หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ
แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับงานใดหรือสาขาใดก็จะเรียกชื่อตามสาขาที่นำมาใช้นั้น
เช่น นวัตกรรมการเกษตร นวัตกรรมการสื่อสาร นวัตกรรมการสอน นวัตกรรมการศึกษา
เป็นต้น มีผู้ให้ความหมายของนวัตกรรมที่นำมาใช้ในระบบการศึกษาและการเรียนการสอน (educational/instructional innovation) ไว้ เช่น
หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น
และประหยัดเวลาในการเรียนอีกด้วย...(กิดานันท์ มลิทอง. 2543 : 256)
เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ
ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม
เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2530 : 5)
จากความรู้เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่กล่าวมาแล้ว
และหากทำการศึกษาในเอกสารตำราต่าง ๆ จะพบว่า
เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นคำที่มักจะใช้ควบคู่กันเสมอ ๆ เช่น ใช้คำว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยี
หรือ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือแม้แต่คำว่า นวัตกรรมเทคโนโลยี (ไม่มีคำว่า“และ”)หรือในรูปรวมกันเป็นคำเดียวในลักษณะย่นย่อเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ใภาษาอังกฤษ
เช่น Technology and Innovation หรือ Innovation and
Technology หรือ Innotech (ชื่อหน่วยงาน)
เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 คำมีความข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ดังที่มีผู้เปรียบเทียบว่า “นวัตกรรมเป็นเสมือนหน่อไม้
ส่วนเทคโนโลยีเทียบได้กับลำไม้ไผ่หรือกอไผ่” (ชัยยงค์
พรหมวงศ์. 2523 : 24-25) อธิบาย ได้ว่า
เทคโนโลยีต้องผ่านขั้นตอนการเป็นนวัตกรรมมาก่อน ในทางกลับกันถ้าไม่มีลำไม้ไผ่
หรือกอไผ่ (เทคโนโลยี) ก็ไม่มีโอกาสจะมีหน่อไม้ (นวัตกรรม) ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น
เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเกี่ยวข้องกันในลักษณะ “วงวัฏจักรของการพัฒนา”
ที่ไม่มีการสิ้นสุดและแสดงเป็นภาพความสัมพันธ์ได้ดังภาพที่ 1
(เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2545 : 8)
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษามวลชน
ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างสื่อมวลชนกับระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สื่อมวลชนกับการศึกษาตามปกติวิสัย
เนื้อหาทางการศึกษาของสื่อมวลชน
ปัจจัยสนับสนุนการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนศึกษา (Media
Education)
แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา
นวัตกรรมการศึกษารายบุคคล
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรฯ
การพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการสัมมนา
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยการศึกษาดูงาน
รูปแบบการแพร่นวัตกรรมและกระบวนการตัดสินใจ
ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)
การยอมรับนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social system)
การปฏิเสธและการยอมรับนวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ
นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม”
(Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน
แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส
(Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph
Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3
ระยะ คือ
ระยะที่ 1
มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2
พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project)
ระยะที่ 3
การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ
ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ
โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว
ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ
และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์
มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์”
หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
(boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท
ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า
เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล
วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ
แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan
edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา
เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง
ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า
ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ
ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้
มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้
โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ
และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย
ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์
เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย
การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น
แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์
แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
iเป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน
ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน
คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน
เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ
ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป
ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ
แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา
แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง
ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่
โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ
ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย
ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้
แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’
ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง
จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ
อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้
เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ
อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน
ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา
หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ
หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่
การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness)
เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน
ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก
และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้
นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา
ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ
ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic
Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ
คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning
่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้
ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World
Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time
ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ
ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time
ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard
News-group เป็นต้น
ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently
Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based
Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่
สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม
และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้
้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง
และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล
ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ
์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets)
การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning
จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long
distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง
ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน
การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ
Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร
บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998
ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง
กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต
อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป
Online Learning ปกติจะ
ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ
คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks)
แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง
โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง
ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์
ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่
ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet)
หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย
ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web
Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน
สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ
การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail,
web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere
and anytime)
หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม
1.การคัดเลือกสิ่งที่นำมาเป็นนวัตกรรมก็จะต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่นและสามารถทำงานนั้นๆได้ดีกว่าสิ่งเดิม
2.จะต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับระบบการใช้งานนั้นๆหรือไม่
3.ในการที่จะนำอะไรสักอย่างมาทำเป็นนวัตกรรมนั้นจะต้องมีการพิสูจน์จากงานวิจัยว่านวัตกรรมนั้นสามารถที่จะใช้ได้ผลจริงและได้ผลที่ดีกว่าของเดิมอย่างแน่นอน
4.จะต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่
ประเภทของนวัตกรรม มี 2 ประเภท ได้แก่
1.นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่หมด
ก็คือนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ และไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน
2.นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน
ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาปรับปรุง แก้ไข
ให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานทที่ดีขึ้นและตรงกับความต้องการของสภาพงาน
และตัวผู้ใช้งานเองด้วย
แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่
จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
2.ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น
5 ประเภท ได้แก่
1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
เช่น –บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน -หนังสืออิเล็คทรอนิค
-บทเรียนCD/VCD -คู่มือการทำงานกลุ่ม
2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
เช่น -การสอนแบบร่วมมือ -การสอนแบบอภิปราย
-วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ -การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่
3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
เช่น -หลักสูตรสาระเพิ่มเติม -หลักสูตรท้องถิ่น
-หลักสูตรการฝึกอบรม -หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
เช่น -การสร้างแบบวัดต่างๆ -การสร้างเครื่องมือ
-การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผลเช่น
-การสร้างแบบวัดแววครู -การพัฒนาคลังข้อสอบ
-การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง
5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
เช่น -การบริหารเชิงระบบ -การบริหารเชิงกลยุทธ์
-การบริหารเชิงบูรณาการ
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
การออกแบบ (design) การนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน
จัดเป็นกระบานการในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง โดยให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่นำมาใช้ในการเรียน โดยการออกแบบสื่อการเรียนการสอนแบบต่างๆ เช่น
การสร้าง ผลิตสื่อการสอนทางเทคโนโลยี
การประยุกต์
การนำเสนองานงานที่แปลกใหม่มีความน่าสนใจ
รวมทั้งการสร้างกลยุทธ์ในการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดในการเรียน การออกแบบมีองค์ประกอบดังนี้
1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional
systems design)
1.2 ออกแบบสาร (message design)
1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional
strategies)
1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner
characteristics
การพัฒนา(Development) คือ
การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการออกแบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดทักษะทางกระบานการเรียนการสอน
ที่ใหม่ๆ พัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอน
ด้านสื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา กลยุทธ์การสอน
การใช้ (Unillization) คือ
การนำกระบานการผลิตและออกแบบ การพัฒนาสื่อในรูปแบบต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมา มาใช้ในการเรียนการสอนจริง
โดยสื่อที่นำมาใช้ต้องผ่านการตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมิณมาแล้วเป็นอย่างดี
ประเภทของการใช้ (Unillization)
- การใช้สื่อ (Media Utilization
-การแพร่กระจายนวัตกรรม
(Diffusion of innovation)
- วิธีการนำไปใช้
และการจัดการ (Implementation and Institutionalization)
- นโยบาย
หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation)
การจัดการ(Management) คือ การวางแผน การควบคุม การจัดการสื่อและกระบวนการใช้สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา
ให้เป็นแบบแผน ควรใช้ในสื่อรูปแบบใด เพื่อให้มีประสิธิภาพมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนได้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอนได้
ประเภทของการจัดการ
1.การจัดการโครงการ (Project
Management)
2.การจัดการแหล่งทรัพยากร
(Resource Management)
3. การจัดการระบบส่งถ่าย
(Delivery System Management)
4.การจัดการสารสนเทศ (Information
Management)
การประเมิน (Evaluation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานทุกประเภท
เมื่อมีการสร้างงานเกิดขึ้นเราต้องมีการประเมินหาผลสรุปจากงานที่เราสร้างขึ้น
กระบวนการขั้นตอนต่างๆที่ผ่านการออกแบบและพัตนา
ตลอดจนการนำมาใช้ว่าได้ประโยชน์ และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ผู้ประเมินก็จะสร้างเกณฑ์ในการประเมิน
วิเคราะห์หาผลสรุป และนำเอาผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ในการทำงานครั้งต่อไปด้วย
องค์ประกอบในการประเมิน
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis
2. เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference
Management)
3. การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation)
4. การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)
องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนรู้ ประกอบด้วย
วัสดุ คือ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสืบค้นหาข้อมูล
หรือสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาประกอบในการทำงาน ชิ้นงาน
เพื่อให้งานนั้นมีความสมบูรณ์ตามต้องการ
เครื่องกลไก คือกระบวนการในการทำงาน
การสืบค้นหาข้อมูล ในการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ได้มีการวางแผนไว้ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
เทคนิค คือ ในการเรียนรู้
การทำงานตามกระบวนการต่างๆ
ต้องมีเทคนิคในการทำงาน
ต้องมีการวางแผน กำหนดขอบเขต
เนื้อเรื่องที่จะสืบค้นหาข้อมูล
ตลอดจนการใช้เทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยแต่ละบุคคลจะมีหลักการ แบบแผน กระบวนการคิด
วิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป
อาคารสถานที่ คือ
องค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ อาคารสถานที่
ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีสนานที่ในการเรียนการสอน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อทางเทคโนโลยี
เช่น การนำเสนองานผ่านโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ห้องที่มีสื่อช่วยในการสอน
เนื้อหาวิชา คือ ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหา ที่ผู้สอนนำมาสอนเพื่อเกิดความรู้ที่ใหม่ๆ
และควรหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ได้เรียนมาในห้องเรียน และผู้สอนควรผู้ความรู้
ความเข้าใจในเนื้อที่จะจะนำมาสอน มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนมาล่วงหน้า
และมีความรอบรู้ และรู้จริงเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้นำมาสอน
บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก
เพราะบุคลากรเป็นผู้ที่ดำเนินงานในกระบวนการเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมด
และเป็นผู้ที่ควบคุมการทำงานด้านการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการทำงานและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความรู้
ความคิดที่แปลกใหม่
การพัตนาแหล่งการเรียนรู้
คือ
การปรับปรุงหรืการเปลี่ยนแปลง
แหล่งการเรียนรู้ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอนให้มายิ่งขึ้น
การพัตนาแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย
การวิจัย คือ
การค้นคว้าหาข้อมูล กระบวนการในการศึกษาอย่างมีหลักการ
เพื่อให้ได้ความรู้ที่เป็นจริง มีเหตุผล และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง การวิจัยมี ลักษณะดังนี้
1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ
2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง
4. มีหลักเหตุผล
5.บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง
การออกแบบ คือ การคิดค้น
การสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่มีแบบแผนขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงาน
ให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามจุดประสงค์ของผู้ออกแบบ
การผลิต คือ การคิด สร้างสรรค์ ผลงาน สื่อ
สิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของผู้ออกแบบการสร้างงาน
เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและผู้สอน
การประเมิน คือ การหาข้อสรุป
เกี่ยวกับงานที่สร้างขึ้น
เพื่อประเมินว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และมีข้อบกพร่องในด้านใด
ส่วนมากลักษณะการประเมิณจะสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเป็นเกณ์ในการประเมิน
เพื่อที่จะผู้ประเมินนำผลสรุปไปปรับปรุงและพัฒนางานในครั้งต่อไป
การให้ความช่วยเหลือ คือ
การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆที่ผู้ประสบปัญหาต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือต้องมีความพร้อม
มีความรู้และมีประสบการณ์ ในการช่วยเหลือ
การใช้ คือ การนำกระบวนการออกแบบ
การผลิต และการพัฒนาสื่อต่างๆ การนำความรู้ที่ได้สืบค้น มาใช้ในการเรียนการสอนจริง
• นวัตกรรมการศึกษา
คือ แนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการศึกษา
• แพร่หลายในวงการศึกษา
คือ เมื่อแนวคิดใหม่เกิดขึ้นส่งผลให้แพร่หลายในวงการการศึกษา
• เทคโนโลยีการศึกษา
คือ เมื่อแนวคิดใหม่เกิดขึ้นและมีความแพร่หลายย่อมส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ
ในการศึกษา
• เกิดปัญหาจากความเปลี่ยนแปลงของการศึกษา
คือ เมื่อเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้การศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิม
• วิเคราะห์ระบบ
คือ
เมื่อรูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไปเราต้องมาวิเคราะห์การจัดการศึกษาใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นด้วย
• ออกแบบระบบใหม่
คือ โดยการนำเทคโนโลยีการศึกษามาออกแบบให้เข้ากับการศึกษาของยุคนั้นๆ
• ทดลองใช้ในสังคม
คือ เมื่อออกแบบระบบใหม่แล้วก็ต้องทดลองใช้ในสังคม
สิ่งนั้นนี้เรียกว่านวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมคือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ
ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย
ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง
และเทคโนโลยีก็คือ เครื่องมือวัสดุต่างๆ
ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการ
การจัดระบบจึงอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ดังนี้
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
เป้าหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา
1. การ ขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ
ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน
คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากร
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง
ๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ
1.4 สถานที่
อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ
ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การ
เน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล คือ การคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้
โดยใช้‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่ง
ทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน
3. การ
ใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา
เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา
หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้
4. พัฒนา
เครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา
หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ
หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่ไม่หยุดยั้ง ทำให้วงการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงทำให้วงการศึกษาเปลี่ยนไปในหลายๆด้าน เช่น
- การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
- การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
- การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม
การเรียนรู้เชิงเสมือน
- การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
- การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน
RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.การเรียนแบบ
มัลติมีเดีย
5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5. ช่วยลดเวลาในการสอน
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น
เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น
ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง
ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ
เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์
ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม
ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า
เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น
เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น